สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๑๗๓๕  ทายาทจำต้องบอกทรัพย์มรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2538 ในกรณีที่มี ทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้ แบ่งมรดกกันเสร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1745และมาตราดังกล่าวให้นำมาตรา1356ถึงมาตรา1366มาบังคับโดยไม่ขัดกับบทบัญญัติในบรรพ6ซึ่งตามมาตรา1363ก็บัญญัติให้สิทธิเจ้าของร่วมคนหนึ่งมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็น ทายาทจึงมีหน้าที่ต้องบอกทรัพย์มรดกตามที่รู้ทั้งหมดแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา1735แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของร่วมอยู่จำเลยก็ยังมิได้เป็นเจ้าของโดยเฉพาะเจาะจงและทายาทอื่นมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยให้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมและส่งมอบใบจองกับโฉนดที่ดินเพื่อโจทก์จะนำไปแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการถือครองที่ดินและเอกสารใบจองและโฉนดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์เพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไปแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยแต่ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินและใบจองกับโฉนดที่ดินจากจำเลยหรือจำเลยไม่ต้องส่งมอบใบจองและโฉนดที่ดินให้โจทก์เท่านั้นจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มิใช่เป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

บทความที่น่าสนใจ

-หากศาลตั้งผู้จัดการมรดกหลายคนคนใดตายจะต้องดำเนินการอย่างไร

-พินัยกรรมห้ามโอนทรัพย์มรดก

-สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก

-เมื่อลูกหนี้ตายเจ้าหนี้จะฟ้องทายาทลูกหนี้รับผิดได้หรือไม่

-ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินเกินส่วนของตน

-เมื่อลูกหนี้ตายเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ภายใน1ป